Monday, February 14, 2011

Class 14 : Web 2.0

ความแตกต่างระหว่าง Web 2.0กับ Web Version เก่า
1.มีการ Collaborate ระหว่างู้ใช้ หรือ website ด้วยกันเอง เช่น Wikipedia ผู้ใช้สามารถเข้าไปร่วมเขียนสารานุกรมได้
2.มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำการตลาด เช่น เริ่มขาย content มากยิ่งขึ้น ขายความคิด idea ใหม่ๆ อะไรก็ตามที่เป็นสิ่งที่คนบริโภค
Web 2.0 Characteristics
1.สามารถเข้าไปถึง intelligence ของ user เช่น review ใน amazon.com เพราะคนที่เข้าไป review จะทำได้ละเอียดมาก
2.มีข้อมูลใหม่ๆออกมาและสามารถนำไปใช้ในวิถีทางใหม่ๆได้อย่างไม่สิ้นสุด
3.ใช้ง่ายมากขึ้น
4.ทำให้มีการแพร่กระจายทางนวัตกรรมผ่าน website
Web 2.0 Companies เช่น Wikia digg Youtube Yahoo Google
Social Bookmark website : เป็นเวบที่ผู้ใช้สามารถเข้ามา vote ว่าเวบไหนที่น่าสนใจ น่าเข้ามากที่สุด เวบที่ถูกโหวตมากสุดจะเป็น Top ของ Bookmark คนที่สนใจในเรื่องๆต่างก็จะสามารถ follow ไปดูตาม Rank ของ Bookmark ได้
Control ของ Media เริ่มมีการโยกย้ายายจาก Traditional Media เช่น TV Movies Radio Print ต่างไปยัง Social Media เช่น podcasts Vlogs Forums
Online Communities เช่น PTA iVillage china.com
Social Networks Sites เช่น bebo facebook twitter flick
Virtual Worlds : Wiki Second Life
Social Networking Web Sites เช่น classmates .com digg xanga
Issues For Social Network Services
1.ขาดความเป็นส่วนตัว
2.ทำให้ภาษามีการบิดเบือนไป เช่น ภาษา chat
3.ทำให้มีการสร้างกระแส สร้างข่าวปลอมเกิดขึ้น
4.เป็นช่องทางสำหรับการทำผิดกฏหมาย
5.ทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
Enterprise Social Network Interfaces
-ใช้ social network ที่มีอยู่แล้ว เข่น fb twitter ในการติดต่อภายในองค์กร
-สร้างเป็น socail network สำหรับใช้ภายในองค์กร เช่น Salesport.com เป็น facebook ที่ใช้ในองค์กร ใช้ในการ share ข้อมูลภายในองค์กร
Retailers Benefit from Online Communities
-ได้ feedback จากลูกค้าที่สนใจ /ใช้ product ขององค์กรจริงๆ เป็น feedback ที่มีประสิทธิภาพ
-Viral marketing เช่น โฆษณาของ burgerking ที่เขวี้ยง bb ทิ้ง เป็นการโฆษณาแบบตลกร้ายแบบฝรั่ง
- Increased web site traffic มีการให้ข้อมูลผ่านเวบไซต์และอาจช่วยเพิ่มยอดขายได้ด้วย
YouTube is a Steal!
-เป็นช่องทางใน review promote สินค้า
Kurzweil’s Law of Accelerating Returns
-คาดการณ์ว่าต่อไปในปี 2020 จะมีการสร้างสมองที่เป็น AI (artificially intelligent) ซึ่งมีสามารถเสมือนสมองของมนุษย์
Robotics
-มีใช้ในกีฬา สงคราม ยา ธุรกิจ
-social shopping คนทั่วไปจะเชื่อเพื่อนมากกว่าดารา เชื่อคำแนะนำจากเพื่อนมากกว่า
Telemedicine & Telehealth
-ใช้ IT เข้ามาดูแลสุขภาพ เช่น รองเท้าของ NIKE ที่จะตัวที่จะเก็บข้อมูลรายละเอียดการวิ่งของผู้ใส่
Mobile Technology in Medicine
-ประเทศไทยก็กำลังพัฒนาให้เป็น Medical Hub โดยกลุ่มโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เน้นที่กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ปัจจุบัน Medical Hub ของ Asia อยู่ที่ Singapore
Urban Planning with Wireless Sensor Networks
-ในเมืองที่เป็น IT ของอินเดีย ก็จะวางผังเมือง internet ความเร็วสูง provide ไว้เลย คนจะได้ทำงานจากบ้านได้เลย
-ที่จอดรถของพารากอน และ Central Pinklao มีsmart Board ที่รายงานจำนวนที่จอดรถที่ยังว่างอยู่
Offshore Outsourcing
- identity theft & privacy issues เป็นประเด็นที่ต้องระวังมาก
Presence, Location & Privacy
Green Computing – Enterprises Need To…
-พยายามใช้ทรัพยาการน้อยลง ใช้ OS หลายๆตัว จำลอง server เสมือนขึ้นมา

Tuesday, February 8, 2011

Class 13 : การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น


ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศมักจะเกิดจากคนกลุ่ม Gen Y เพราะจะมีความรู้เยอะ จึงชอบลอง เล่นกับระบบมากกว่า และมีนิสัยคิดเร็วทำเร็ว ชอบคลิกไปเรื่อยโดยที่ไม่อ่านให้เข้าใจก่อน
ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
-         แฮกเกอร์ (Hacker) : เจาะระบบสารสนเทศเพื่อขโมยข้อมูล
-         แครกเกอร์ (Cracker) : ทำลายข้อมูลและทำให้ระบบสารสนเทศและเครือข่ายของกิจการมีปัญหาอย่างมาก มักจะเกิดกับบุคลากรในองค์กรนั้นๆ
-         ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่ (Script Kiddies) : เช่น พวกที่ชอบปล่อยข่าวโคมลอย สร้างข้อมูลปลอม จริงบ้าง เท็จบ้าง
-         ผู้สอดแนม (Spies)
-         เจ้าหน้าที่ขององค์กร (Employees)
-         ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ (Cyberterrorist)
ประเภทของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
-         การโจมตีระบบเครือข่าย (Network attack)
-         การโจมตีขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks) เช่น Call Center ที่มาหลอกว่ามีหนี้บัตรเครดิต มักจะเป็นมิจฉาชีพจากต่างประเทศ เพราะจะจับได้ยากกว่า
-         การโจมตีด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks)
-         การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service หรือ DoS)
-         การเข้า Web page ที่ถูก spoof คือการพิมพ์ชื่อเวบผิด จะไปเข้าเวบอื่นที่มี interface คล้ายกับเวบที่เราต้องการเข้า
ประเภทของความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (ต่อ)
-         การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized access) เช่น computer ขององค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์อื่นได้นอกเหนือไปจากการทำงาน (เล่นเวบต่างๆ) ทำให้ computer ติดไวรัส หรือ การเข้าระบบโอนเงินของธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
-         การขโมย (Theft) : การขโมยฮาร์ดแวร์และการทำลายฮาร์ดแวร์มักอยู่รูปของการตัดสายเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-         การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
-         การรักษาความปลอดภัยการโจมตีระบบเครือข่าย
-         ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและปรับปรุง Virus signature หรือ Virus definition
-         ติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall)
-         สามารถป้องกันการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ได้โดยใช้ การระบุตัวตน (Identification) และ การพิสูจน์ตัวจริง (Authentication)
-         การควบคุมการขโมย เช่น Physical access control)
-         การเข้ารหัส คือกระบวนการในการแปลงหรือเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่ในรูปที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ (Plaintext) ให้อยู่ในรูปที่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นสามารถอ่านข้อมูลได้ (Ciphertext)
-         การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ 
-         Secure sockets layer (SSL) โดยเว็บเพจที่ใช้ SSL จะขึ้นต้นด้วย https แทนที่จะเป็น http : ให้สังเกตุว่าถ้าเป็น https จะปลอดภัยกว่า เข้าไปใช้ network ขององค์กรนั้นแล้ว
-         Virtual private network (VPN)  ช่วยให้สามารถ access เข้ามา intranet ขององค์กรผ่าน internet ได้ เช่น ของคณะ ก็มี VPN สามารถ access เข้า Database ได้เพื่อหาข้อมูลต่างๆ
-         การควบคุมความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ เช่น UPS เป็นหม้อแปลงไว้กันไฟตก เอาไว้ป้องกันระบบสารสนเทศจากอันตราย
-         จรรยาบรรณ
-         จรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์ คือหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ
-         หลักปฏิบัติ คือสิ่งที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าการกระทำใดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่มีหรือไม่มีจรรยาบรรณ
-         ปัจจุบันมีกฏหมายที่จะเก็บข้อมูลการใช้งาน internet เป็นเวลา 90 วัน เพื่อเอาไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้

ณัฐธิดา โพธิพันธุ์
5202113105

Monday, February 7, 2011

Class 12 : Customer Relationship Management


Customer Relationship Management

CRM คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการพัฒนาเทคโนโลยี และบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

เป้าหมายของ CRM
ไม่เพียงแต่ประโยชน์ในเชิงการบริการลูกค้า แต่ยังสามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้
ประโยชน์ของ CRM
·        เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกค้า
·        ใช้ประโยชน์ในด้านการตลาด กลยุทธ์ เพื่อตอบสนองลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
·        ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA)
-ขายผ่านโทรศัพท์ตอบรับ  (Telesale)
-E-Commerce เช่น Up-Saleing หรือ Cross-Saleing
-ระบบงานสนามด้านการขาย เช่น Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ

2.ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center)
-ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR)

3.ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing)

Data Warehouse เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระบบ CRM เนื่องจากเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่จำเป็น โดยมีแหล่งข้อมูลจากข้อมูลจาก transaction ต่างๆขององค์กร เช่น billing ลูกหนี้ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์กร เช่น Web Telephone Directory

Classification of CRM Applications
Customer-facing เป็นส่วนที่องค์กรต้องมี interaction กับลูกค้าทั้งหมด
Customer-touching เป็นส่วนที่ลูกค้าจะมี interaction กับ application
Customer-centric intelligenceเป็นส่วนที่วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการลูกค้าและนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนา CRM ต่อไป
Online networking เป็นวิธีในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้า

Levels &Types
Foundational service เช่น website ใช้เป็นเส้นทางในการ discuss กับลูกค้า
Customer-centered services เช่น บางเวบจะมี option เสริม เช่น ให้ความรู้ด้านต่างๆเพิ่มเติม หรือมีการร่วมเป็น member เพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ
Value-added services
Loyalty programs

Knowledge Management System (KMS)
ความรู้มี 2 ประเภท
Tacit knowledge ความรู้แบบฝังลึก อธิบายออกมาได้ยาก
Explicit ความรู้แบบชัดเจนที่สามารถอธิบายได้

What is KM?
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

ประโยชน์ของการบริหารความรู้
เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้

สร้าง KM อย่างไร
สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว
สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง

ลำดับขั้นตอนของความรู้
ความสามารถ ß ความชำนาญ  ß ความรู้ ß ความสนเทศ ß ข้อมูล

การสร้างความรู้
Socialization เป็นกระบวนการในการเปลี่ยน tacit เป็น tacit knowledge
Externalization เป็นกระบวนการในการเปลียน tacit เป็น explicit knowledge เช่น การนำความรู้มาเขียนหรือตีพิมพ์ เพื่อให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ตามได้ด้วย
Combination  นำความรู้ Explicit มาเปลี่ยนเป็น Explicit  รวมความรู้จากหลายๆแหล่ง/หลายๆคน นำมารวมเป็น Best Practice   
Internalization กระบวนการเรียนรู้/ซึมซับความรู้ที่ได้รวบรวมมา เพื่อนำไปใช้สร้างประโยชน์ต่อ

Wednesday, February 2, 2011

Class 11: Business Intelligence II & Strategic Information System Planning

Web Mining : จัดเป็น text mining รูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นบน website ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ website
ตัวอย่าง เช่น Web Content Mining , Web Structure Mining และ Web usage mining
Strategic Information System Planning
IS/IT Planning : เป็นการวางแผนในระดับองค์กรโดย IS/IT เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างหลัก เพื่อให้การทำงานในทุกระดับสามารถใช้งานระบบสารสนเทศได้ และต้องสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
Four-stage model for IS/IT planning
1.Strategic Planning : กำหนดกลยุทธ์ หาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์กับ IT
 2.Organizational Information requirement Analysis  : วิเคราะห์ว่าควรใช้สารสนเทศใดในการดำเนินกลยุทธ์
3.Resource Allocation Planning : จัดสรรทรัพยากร
4.Project Planning : พิจารณาความคุ้มค่า
Strategic Information Technology Planning
Stage 1 : Identify the application portfolio and search for strategic information system (SIS)
Methodologies : The business systems planning (BSP) model, Stage of IT Growth Model , Critical Success Factors (CSFs) and Scenario Planning
The Business Systems Planning (BSP)
-Analysis of organization-wide information which helps identify the key entities and attributes in the organization’s data.
-Strength : Comprehensive view & Suitable for Start-up or Massive change situation.
-Weakness : Require a lot time &Enormous amount of data & Focus on existing information.
Critical Success Factors (CSF)
-Factor that ensures the organization’s survival and success.
-Vary by industry.
-Strength : Smaller set of data to analyse & Take into account the changing environment
-Weakness : Aggregation process and the analysis of the data are art forms.

Stage 2 : Information Requirement Analysis
-Analysis of the information needs of users and how information relates to their work.
-The goal is to ensure that many information systems , databases and network can be integrated to support Stage 1.
Stage 3 : Resource Allocation
-Developing the hardware, software, data networks and communications , facilities, personnel and financial plans needed to execute the master development plan.
Stage 4 : Project Planning
-Provide an overall framework within which specific applications can be planned, scheduled and controlled.




Tuesday, February 1, 2011

Class 10 :Enterprise System

Traditional Information System : เป็นระบบสารสนเทศที่มีอยู่ในแผนกต่างๆขององค์กร ข้อเสียที่สำคัญคือ เป็นระบบที่ไม่มีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบของแต่ละแผนก
Fragmentation of Data : แต่ละคนต้องการข้อมูลในลักษณะที่ต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการข้อมูลที่เป็นลักษณะภาพรวมขององค์กร หรือพนักงานขายไม่สามารถรู้ได้ว่าในขณะที่มีการสั่งสินค้านั้นมีอยู่ในโกดังสินค้าหรือไม่

Enterprise Systems จึงมีหลากหลายระบบเพื่อตอบสนองความต้องการที่ต่างกัน เช่น มีระบบที่ช่วยให้พนักงานขายสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้โดยสามารถ trace ได้ตั้งแต่การผลิตสินค้า และสามารถ update ข้อมูลการขายสินค้าไปยังแผนกบัญชี ซึ่งจะส่งต่อไปยังฝ่ายบุคคลเพื่อคำนวณค่าตอบแทน เป็นต้น
Enterprise Systems จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมของกระบวนการที่สำคัญขององค์เพื่อให้ข้อมูลสามารถกระจายไปยังทั่วองค์กรได้อย่างไม่มีอุปสรรค โดยจะเน้นที่กระบวนการต่างๆภายในองค์กร และรวมถึง transaction ต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรกับลูกค้าหรือ supplier ด้วย

Enterprise Systems – an Example
  • ERP-จัดการ บริหารงานภายในองค์กรให้ smooth มากที่สุด
  • CRM-เกี่ยวลูกค้า
  • Knowledge Management Systems (KM) -ระบบสารสนเทศในการสร้าง/เก็บองค์ความรู้ภายในองค์กร เป็นระบบภายใน
  • Supply Chain Management เป็นระบบจัดการตั้งแต่ supplier ไปจนถึงส่งสินค้าไปยังลุกค้า
  • Decision Support Systems-ช่วยในการตัดสินใจของบุคลากรระดับต่างๆ/ผู้บริหาร
  • Business Intelligence-เป็น software/ระบบ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานต่างๆขององค์กร เช่น OLAP, analytics, data mining, business performance management, and text mining : เป็นเทคนิคที่ Amazon ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการ/ความสนใจของลูกค้าที่เข้ามาใช้งานในเวปไซต์
  • Wal-Mart มีระบบ supplier Chain ที่แข็งแกร่งมาก ใครจะมาร่วมธุรกิจกับ Wal-Mart ก็ต้องมีระบบที่สามารถเข้ากันได้กับระบบของ Wal-Mart เพื่อให้สามารถ share ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าระหว่างกันได้
  • Inventory Management System (IMS) : ใช้ฟรี ใช้กันอย่างแพร่หลายในไทย
  • Fleet Management system ระบบที่จัดการการขนส่งสินค้า วางแผนการ ship ควบคู่ไปกับการวางเส้นทางขนส่ง และมีระบบตรวจเช็ค trace สินค้า และขากลับอาจจะรับขนส่งสินค้าของบริษัทอื่น แทนที่จะขับรถเปล่ากลับกรุงเทพ เพื่อให้ใช้พลังงาน/น้ำมันอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
  • Vehicle Routing and Planning วางแผนเส้นทางว่าทางไหนจะประหยัดน้ำมันมากที่สุด/คุ้มค่ากับเวลามากที่สุด

10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management

1.Connectivity : 802.11n standard คล้ายๆกับ wireless ที่บ้าน แต่ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างและใช้กับ access point ได้หลายตัว ทำให้กระจายได้ไปไกล

2.Advanced Wireless : Voice & GPS : เชื่อมโยงระบบ GPS กับการสื่อสารด้วยเสียงไว้ด้วยกัน

3.Speech Recognition : การสั่งงานด้วยเสียง

4.Digital Imaging : การประมวลผลภาพ เช่น ใช้แทนการบันทึกข้อมูลลงบนเอกสาร

5.Portable Printing : เครื่องพิมพ์แบบพกพา สามารถพิมพ์เอกสารได้ทุกที่ทุกเวลา

6. 2D & other barcoding advances

7.RFID

8. Real Time Location System; RTLS

9.Remote Management

10.Security


Wednesday, January 19, 2011

Class 9 : Data Management II & Business Intelligence

Data Management II & Business Intelligence

Data Warehouse : Major Benefits
1.Reach data more quickly as they’re located in one place.
2.Reach data easier , more frequent by end users themselves ,using Web browser.

Reasons for data inconsistency
1.เกิดจากข้อมูลมี format ต่างกัน
2.ข้อมูล update ไม่เท่ากัน

Data Warehouse Process
1.Collect Data both from External data and Operational Data
2.Data Staging : Extract, Clean, Transform and Load .AKA “ETCL” คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่ต้องใช้จาก Database เก็บข้อมูลไว้ใน Data Cube

The Data Mart : is a small scaled-down version 0f a data warehouse : ไม่ได้มีข้อมูลทุกอย่างเหมือน Data Warehouse แต่ตัดแบ่งข้อมูลมาจาก Data Warehouse ตามมุมมองที่ผู้ใช้ต้องการ

Types of Data Mart
1.Replicated data mart : ในกรณีที่องค์กรมี Data Warehouse ขององค์กรอยู่แล้วและทีผู้ใช้ Data Warehouse ที่หลากหลาย จึงจำเป็นต้องมี of Data Martเพิ่มขึ้นมาโดยนำข้อมูลมาจาก Data Warehouse เพื่อจัดระเบียบให้ตรงกับความต้องการใช้
2.Stand-alone data mart : เกิดขึ้นกับองค์กรที่ยังไม่พร้อมที่จะสร้าง Data Warehouseขององค์กร จึงสร้างเฉพาะ data mart ในส่วนที่พร้อม

The Data Cube
“Multidimensional Databases” (AKA OLAP) : เป็น database ที่มีการจัดเรียงข้อมูลตามมิติต่างๆ เพื่อความสะดวกการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น
1.Slices and Dices : การดูข้อมูลที่แบ่งออกเป็นมิติต่าง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ Wine ทั้งในแง่ของราคา ฐานลูกค้าในแต่ละระยะเวลา
2.Rollups : ดูข้อมูลที่เป็นรายละเอียด ไปยังข้อมูลที่เป็นภาพรวม เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์แนวโน้ม
3.Drill Downs : ดูข้อมูลจากภาพรวมไปยังรายละเอียด

Business Intelligence : BI : รวมเครื่องมือในการทำงานต่างๆและ database เพื่อทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูล จัดการข้อมูลได้อย่าง interactive รวมถึงช่วยให้ผู้บริหารและนักวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้อย่างดียิ่งขึ้น

Dashboard & Scorecards
Dashboard : innovate ในการนำข้อมูลไปสู่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการประเมิน performance ตาม balance scorecard ทั้ง 4 ด้าน คือ Financial , Customer ,Internal Process และ Learning and Growth

Data Mining : การสกัดข้อมูลที่จำเป็น/มีประโยชน์ออกมาจากข้อมูลทั้งหมด เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
Yield from Data mining
1.Clustering : เป็นการจัดกลุ่มของข้อมูล โดยแบ่งจากความสัมพันธ์ของกลุ่มข้อมูล
2.Classification : เป็นการจัดกลุ่มข้อมูลโดยมีสมมติฐานล่วงหน้า แล้วดูว่าข้อมูลเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ ถ้าไม่ แสดงว่าสมมติฐานผิด
3.Association : เป็นผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น เช่น เวลาลูกค้าเปิดบัญชีออมทรัพย์ ต่อไปก็น่าจะมรการเปิดใช้ ATM ต่อด้วย
4.Sequence Discovery
5.Prediction : เป็นการ Forecast ไปข้างหน้า

Text Mining
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ใน data warehouse จะเป็นข้อมูลแบบ structured คือมีรูปแบบที่แน่นอน มีชื่อ attribute , ขนาดของ fieldว่ามีกี่ character ซึ่งจะสามารถใช้ Data mining ได้ แต่ในกรณีที่เป็นข้อมูลแบบ unstructured data จะไม่สามารถใช้ data mining ได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีรูปแบบชัดเจน เช่น complain จากลูกค้า ซึ่งข้อมูลประเภท unstructured นี้มีการเติบโตสูงมาก

Wednesday, January 12, 2011

Class 8 : Data Management

Data Management

System ประกอบไปด้วย Inputs Process Outputs
ต้องกำหนด Objective ก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร ต้องการทำอะไรกับสิ่งเหล่านี้ : สิ่งที่เราต้องการจากระบบ คือ Outputs ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดได้อย่างถูกต้องว่าต้องการ Inputs แบบไหน

ระบบสารสนเทศสามารถแบ่งตามสายงาน (functional) และตามระดับบังคับบัญชา(level)

Data กับ Information ต่างกันอย่างไร : กระบวนการที่จะได้มา และประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้
ในระบบอื่นๆ Input และ Output อาจมีความแตกต่างอย่างชัดเจนเช่น การหุงข้าว Input คือ ข้าวสาร Output คือข้าวสวย สามารถแยกแยะได้จากภาพลักษณ์ภายนอก แต่ IS นั้น Input และ Output อาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก จึงไม่สามารถแยกแยะจากรูปลักษณ์ภายนอกได้ ต้องวัดจากประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับ

Data : คือ message ที่ถูกส่งไปยังผู้ที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ไม่เกิดประโยชน์
Information : คือ message ที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การกระทำ หรือการตัดสินใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียได้ โดยสรุปคือ วัดจากประโยชน์ที่ผู้รับเป็นหลัก

ต้องประเมินว่าใครคือผู้ใช้ผลผลิตจากระบบสารสนเทศเพื่อดูว่า output ต้องเป็นอะไร
งบการเงิน เป็นประโยชน์ต่อ External User เนื่องจากมีการจัดทำตาม format มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ แต่ถ้าหากเป็น Internal User แล้ว งบการเงินจะต้องจัดทำขึ้นภายใต้รูปแบบอื่นเพื่อนำเสนอข้อมูลในแง่มุมที่ต่างกัน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการใช้งบการเงินต่างกันในระหว่าง User 2 ประเภท

สิ่งที่อยู่ใน management report คือสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเช่นกัน เพราะทำให้รู้ว่าองค์กรมีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร สามารถนำไปปรับปรุงองค์กรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Output หลักของ IS คือ สารสนเทศ
Website เป็นระบบได้ แต่อาจจะไม่ใช่ IS บางเวบอาจจะมีวัตถุประสงค์ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เท่านั้น เช่น
Twitter หรือ Facebook ถือว่าไม่ใช่ IS เนื่องจากมีแต่การแสดงข้อมูลเท่านั้น
tbs.tu.ac.th ก็ไม่ใช่ IS เช่นกัน เนื่องจากมีแต่การแสดงประกาศ ข้อมูลเพื่อการโฆษณาใหทราบเท่านั้น ไม่สามารถ tracking ข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้
Amazon.com ถือว่าเป็น IS เนื่องจากมีการรับข้อมูลจากผู้ใช้ ประมวลผลข้อมูลและแสดงผล มีลักษณะการรวบรวมข้อมูลเกิดขึ้น

สารสนเทศจะต้องถูกส่งไปยังผู้รับตามสิทธิ และต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูล ไม่ใช่เก็บสารสนเทศ ถือได้ว่าหัวใจหลักของ IS คือ Input ถ้ามี Input จะสามารถประมวลผลได้เสมอ

การจัดการข้อมูลที่สำคัญคือ การจัดการกับ Input ซึ่งมีความยากเนื่องมาจากข้อมูลมีเป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายไปทั่วทั้งองค์กร บางครั้งข้อมูลเดียวถูกบันทึกไว้ที่หลายแผนกขององค์กร ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน หรือถูกนำไปใช้โดยขาดการควบคุมคุณภาพที่เพียงพอ รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลที่เป็น External Data เพื่อในการตัดสินใจขององค์กร และเรื่องของการควบคุมดูแลสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
เป้าหมายในการจัดการข้อมูลคือการสร้าง Infrastructure เพื่อจัดการกับข้อมูลดิบให้กลายเป็นสารสนเทศที่มีคุณภาพสูงได้

Data Life Cycle Process: ดูว่าข้อมูลเมื่อเริ่มเกิดขึ้นแล้วไปจบที่ตรงไหน เช่น เมื่อมีข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ database ก่อนที่จะถูกนำไปเก็บไว้ที่ data warehouse ตามวัตถุประสงค์หรือ format ที่องค์กรต้องการ จากนั้นผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลจาก data warehouse เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ได้

Data Source : Organizational Data มักจะถูกบันทึกไว้ที่ Database ขององค์กร เป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร ผลิตภัณฑ์ บริการและกระบวนการต่างๆขององค์กร
End-User Data : เป็นข้อมูลที่บันทึกความเชี่ยวชาญ ทักษะ ความชำนาญของบุคลากร
External Data : เป็นข้อมูลที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น เช่นราคาสินค้าคู่แข่ง

Data Warehouse : เก็บเฉพาะข้อมูลในส่วนทราองค์กรต้องการใช้เพื่อตอบคำถามให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร จะ extract เฉพาะ attribute ที่องค์กรต้องการ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ใน Data Warehouse นั้นคือข้อมูลที่ถูกจัดระเบียบ/ มุมมองใหม่เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์กลายเป็น Input ของ Data Mining

Characteristics of Data Warehouses
1.Organization : ข้อมูลจะถูกจัดตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมาก่อน
2.Consistency : ข้อมูลต่างๆอาจจะไม่ได้อยู่ใน format เดียวกัน ข้อมูลที่ถูกบันทึกใน Data Warehouses จะถูกจัดให้อยู่ใน format เดียวกันที่จะสอดคล้องกับข้อมูลอื่นๆใน data warehouse แต่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อมูลอื่นๆใน database
3. Time Variant : ข้อมูลที่จะถูกเก็บไว้เป็นเวลานาน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
4.Non-Volatile : ข้อมูลจะไม่ถูก update ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้นแต่อาจจะมรการเติมข้อมูลเข้าไป ( Refresh)
5.Rational
6. Client/Server : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลใน Data warehouse ได้ง่าย